หากพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หนองใน เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งโรคนี้ติดต่อกันได้อย่างไร? มีกี่ประเภท? อาการเป็นแบบไหน? ไขทุกข้อสงสัยกับคุณหมอชมพูนุท คงสวัสดิ์วรกุล สูตินรีแพทย์ จากแอปฯ หมอดี ที่นี่ได้เลย
หนองใน ติดต่อกันได้อย่างไร?
– ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
– สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ที่มีเชื้อ
2 ประเภทของโรคหนองใน
1.หนองในแท้ (Gonorrhoea)
เกิดจาก : เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae
ระยะฟักตัว : 1-10 วัน
2.หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis)
เกิดจาก : เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Chlamydia trachomatis
ระยะฟักตัว : 10 วันขึ้นไป
โรคหนองใน อาการเป็นอย่างไร?
ไม่ว่าจะหนองในแท้ หรือหนองในเทียม อาการโดยรวมจะคล้ายกัน ดังนี้
อาการหนองในของผู้ชาย
- ปัสสาวะแสบขัด
- มีหนองออกมาจากอวัยวะเพศ
- อัณฑะบวม
- มีของเหลวออกจากทวารหนัก ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
อาการหนองในของผู้หญิง
- ตกขาวมีสีเหลือง หรือเขียวคล้ายหนอง
- คันอวัยวะเพศ
- เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน
- ปัสสาวะแสบขัด
- ปวดท้องน้อย
- มีของเหลวออกจากทวารหนัก ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

5 วิธีป้องกันหนองใน เริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง
1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
2. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่รู้จัก
3. เลี่ยงมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือ ผู้ที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
4. รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
5. ตรวจภายในเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง
หนองใน..ปล่อยไว้ อันตราย
เพราะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอย่าง ฝีที่อวัยวะเพศ ลูกอัณฑะอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ และยังทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นด้วย
ถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคหนองใน อย่ามัวแต่เขินอาย แนะนำให้ตัวคุณเองและคู่นอนรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วค่ะ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เป็นส่วนตัว นัดได้ตามสะดวก พร้อมบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน